วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนเทพศิรินทร์

นสิยา โลกวฑฺฒโน (ไม่ควรเป็นคนรกโลก)
โรงเรียนเทพศิรินทร์ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Debsirin School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนชายล้วน ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันนี้ได้เป็นหนี่งในโรงเรียนเครือจตุรมิตรซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เรียงตามลำดับที่ปรากฏในเพลงจตุรมิตรสามัคคี ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครด้วยกันได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเพณีและ การแปรอักษรร่วมกันทุกๆ2ปี

ประวัติโรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบเบญจเพส จึงทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสนองพระเดชคุณแด่องค์พระราชชนนี คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น
โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ด้วยพระราชปรารภที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวดเร็วจึงทรงมีพระบรมราชโองการให้จัดการศึกษาสำหรับราษฎรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน วัดเทพศิรินทราวาส โดย ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำการเรียนการสอน
ครั้นถึง พ.ศ. 2438 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย
ตราประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์
ภาพอาทิตย์อุทัยทอแสงบนพื้นน้ำทะเล หมายถึง ภาณุรังสีและ วังบูรพาภิรมย์โดย ภาณุรังสีนี้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ผู้ทรงประทานตรานี้ให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระองค์ทรงมีพระคุณอเนกอนันต์แก่โรงเรียน อาทิทรงเป็นผู้ทูลขอให้ทรงสถาปนาโรงเรียนต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนาโรงเรียนแบบถาวรและทรงถือว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนในดูแลของพระองค์ด้วย
อักษรประดิษฐ์ หมายถึง หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาอันเป็นที่รักของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงหม่อมแม้น ว่าถ้าไม่มีหม่อนแม้น การกำเนิด ตึกแม้นนฤมิตร ก็คงไม่มี ดังนั้นโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็คงไม่มี จึงเป็นความหมายที่ควรระลึกไว้
ช่อดอกรำเพย หมายถึง พระนามแห่งองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระบามราชชนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงสร้างพระอารามและโรงเรียนเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบรมราชชนี ทำเครื่องหมายดอกรำเพยไว้เพื่อให้คนรุ่นหลัง รู้ไว้ว่าพระนามเทพศิรินทร์นี้ได้มาจากพระองค์ท่าน เป็นพระนามมหามงคลยิ่งควรรักษาไว้ให้ดี


สีประจำโรงเรียน คือ สีเขียวและสีเหลืองเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ตามตำราพิชัยสงคราม (สวัสดิรักษา) ซึ่งวันพฤหัสบดีนั้นเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4 อีกทั้งยังเป็นสีของใบและดอกของต้นรำเพย ซึ่งเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี คือ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์

ดอกรำเพย จึงถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์




พุทธสุภาษิตประจำโรงเรียน น สิยา โลกวฑฺฒโนความหมายคือ ไม่ควรเป็นคนรกโลกเป็นพุทธสุภาษิตซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์องค์ที่ 5 ได้ประสาทให้แก่โรงเรียน และท่านอธิบายความหมายของพุทธสุภาษิตบทนี้ว่า คนเราบางคน เกิดมารกโลก ทำนองเดียวกับติณชาติที่หาประโยชน์อะไรมิได้ ทำให้เสียเงินทองกำจัด และรกชัฏขวากหนาม บางอย่างเป็นศัตรูแก่โลกไม่เป็นประโยชน์ มนุษย์ที่ไม่มีเมตตากรุณา คอยแต่จะเบียดเบียยนผู้อื่น จัดว่าเป็นคนรกโลก อย่าเกิดมาเลยเสียดีกว่า สู้สัตว์บางชนิดก็ไม่ได้
ประวัติการสร้างตึกและอาคารเรียน
ปี พ.ศ. 2445 ตึกเรียนหลังแรกของโรงเรียนได้สร้างเสร็จและได้ทำพิธีเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามตึกเรียนหลังนี้ว่า ตึกแม้นนฤมิตร และ ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า "เทพศิรินทร์" อีกทั้งยังทรงมีพระราชดำริให้ย้ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มายังตึกแม้นนฤมิตรอีกด้วย เพื่อรอการก่อสร้างตึกอาคารเรียนที่โรงเรียนนั้น
ตึกเรียนหลังที่สามของโรงเรียนเทพศิรินทร์นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2453 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์ซึ่งเป็นมรดกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี ให้กระทรวงศึกษาธิการทำการจัดสร้างตึกขึ้นด้านตรงกันข้ามของตึกแม้นนฤมิตร โดยตึกเรียนหลังนี้ยังคงศิลปะโกธิค ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์ อาคารเรียนหลังนี้สร้างเสร็จในปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานนามว่าเยาวมาลย์อุทิศ สำหรับเครื่องครุภัณฑ์ต่างๆในอาคารนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นผู้ติดต่อให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ได้ทรงร่วมกันบริจาค
ปี พ.ศ. 2474 โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้เปิดใช้อาคารเรียนอีกหลังหนึ่งคือตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา ตึกนี้เกิดขึ้นจากที่นายพลเอกสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ได้ทรงให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศพระกุศลถวาย แด่พระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา พระมารดาของ พระองค์ ตึกเรียนอยู่ติดกันกับตึกเยาวมาลย์อุทิศ โดยตึกหลังนี้ก็ยังคงไว้ซึ่งศิลปะโกธิค ในปี พ.ศ. 2475 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับเกียรติยศอันสูงสุดที่มีพระองค์เจ้าเล็กๆ พระองค์หนึ่งมาทรงเข้ารับการศึกษา หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีความผูกพันกับ โรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน
ด้วยเหตุที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟนั้น เป็นเหตุให้โรงเรียนไม่สามารถหนีจากหายนะของสงครามนี้ได้ โดยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ตึกแม้นนฤมิตร์ และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี ตึกเรียนสองหลังแรกของโรงเรียนได้รับภัยทางอากาศจากการทิ้งระเบิดทำให้ไม่สามารถใช้ทำการเรียนการสอนได้อีกตลอดทั้งอาคารเรียนอีกหลายๆหลังก็ได้รับความเสียหายพอสมควร จากการที่แหล่งรวมจิตใจของชาวเทพศิรินทร์ได้ถูกภัยสงคราม ทางกระทรวงศึกษาธิการ วัดเทพศิรินทราวาส ตลอดถึงสมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้ร่วมกันสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นมาทดแทนโดยคงศิลปะโกธิคอยู่เช่นเดิม อาคารหลังใหม่นี้ได้รับการขนานนามว่า ตึกแม้นศึกษาสถาน
โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการขยายห้องเรียนขึ้น จนในปี พ.ศ. 2513 ทางโรงเรียนได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าฯ ขออนุญาตทางวัดเทพศิรินทราวาส ใช้อาคารของทางวัดหลังหนึ่งเพื่อเป็นที่ทำการเรียนการสอนอาคารนั้นมีชื่อว่า ตึกนิภานภดล โดยอาคารนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ได้สร้างขึ้นถวายแก่วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร
แต่ด้วยการพัฒนาโรงเรียนไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องมีการสร้างตึกเรียนขึ้นมาใหม่ ทำให้ทางโรงเรียนต้องมีการรื้อถอนตึกเรียนเดิม 2 หลังคือ ตึกเยาวมาลย์อุทิศ และ ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา สำหรับตึกใหม่ที่สร้างขึ้นทดแทนเป็นอาคารเรียน 6 ชั้น และได้ใช้ชื่อว่า ตึกเยาวมาลย์อุทิศปิยราชบพิตรปดิวรัดา ตามตึกเรียนสองหลังเดิม ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงเสด็จพระดำเนินมาในการวางศิลาฤกษด้วย




ตัวการ์ตูนที่ชอบ


           ประมาณเดือนสิงหาคม ในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Harry Colebourn สัตวแพทย์ชาวคานาดา ทำงานประจำที่ Fort Garry Horse ใน Winnipeg ได้ถูกส่งตัวไปประจำการที่อังกฤษ ขณะเดินทางไปอังกฤษ ขบวนรถไฟที่เขานั่งไปต้องหยุดจอดที่ White River ใน Ontario เพื่อเปลี่ยนขบวนใหม่ ระหว่างนั้นเขาได้เห็นชายคนหนึ่งกับลูกหมีสีดำ ณ บริเวณชานชาลาของสถานีรถไฟ โดยที่ลูกหมีตัวนั้นถูกผูกกับที่เท้าแขนของเก้าอี้ที่ชายคนนั้นนั่งอยู่ หลังจากที่ Harry Colebourn พูดคุยกับชายคนนั้นทำให้เขารู้ว่า ชายคนนั้นเป็นนักล่าสัตว์ เขาจึงขอซื้อลูกหมีตัวนั้นในราคา 20 เหรียญสหรัฐ และตั้งชื่อให้มันว่า Winnie เขาได้นำ Winnie ไปอยู่กับเขาที่กองทัพด้วย ซึ่งทุกคนในกองทัพก็ถือว่า Winnie เป็นสัตว์นำโชค        
ต่อมาเดือนธันวาคม ในปีเดียวกัน กองทัพที่ Harry Colebourn ประจำการอยู่ ต้องย้ายกำลังพลไปที่ประเทศฝรั่งเศส Harry Colebourn ได้ฝาก Winnie ไว้ที่สวนสัตว์ที่กรุงลอนดอน และเขาคาดการณ์ว่าประมาณ 2 สัปดาห์เขาคงจะเสร็จภารกิจ และกลับมารับ Winnie ได้ แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นดังที่เขาคิดไว้ สงครามสงบประมาณปี ค.ศ. 1918 Harry Colebourn กลับมาที่สวนสัตว์อีกครั้งเพื่อมารับ Winnie แต่เขาพบว่า Winnie อยู่อย่างมีความสุข ณ สวนสัตว์แห่งนี้ ทั้งคนเลี้ยงและคนที่มาเที่ยวในสวนสัตว์ รักมันมาก เขาจึงตัดสินใจปล่อยให้ Winnie อยู่ที่สวนสัตว์ตามเดิม และมาเยี่ยม Winnie เสมอเมื่อมีโอกาส จนกระทั่ง Winnie เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปี ค.ศ.1934 ส่วน Harry Colebourn ได้กลับมาประจำการอยู่ที่ทำงานเก่าของเขา Fort Garry Horse ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1921 โดยทำหน้าที่เป็นสัตวแพทย์ ประจำกองทัพ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1947
  ในช่วงที่ Winnie ยังมีชีวิตอยู่ในสวนสัตว์ Winnie มีชื่อเสียงมาก อยู่มาวันหนึ่งประมาณปี ค.ศ. 1925 Christoper Robin เด็กชายวัย 5 ขวบได้มาเที่ยวเล่นในสวนสัตว์แห่งนี้ ทันทีที่ Christopher Robin พบกับ Winnie เขาก็เกิดความรักและประทับใจใน Winnie มาก จนถึงกับเปลี่ยนชื่อตุ๊กตาหมีที่ได้จากเพื่อนของพ่อของเขาจาก Edward มาเป็นชื่อ Winnie และความรักของ Christoper Robin ใน Winnie นี่เองที่ไปจุดประกายความคิดของ A.A. Milne (Alan Alexander Milne) พ่อของ Christopher Robin ซึ่งเป็นนักเขียนหนังสือและบทกลอน ให้แต่งนิทานเรื่องเกี่ยวกับ Winnie และเพื่อนขึ้นมา โดยชื่อของหมีในนิทานของเขามีชื่อว่า "Winnie-the-Pooh" โดยคำว่า Winnie มาจากตุ๊กตาหมีของลูกชายของเขาและหมี Winnie ในสวนสัตว์นั่นเอง ส่วนคำว่า Pooh มาจากชื่อของหงส์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณฟาร์มของเขา (Cotchford Farm อยู่ในบริเวณป่า Ashdown ที่ Sussex ประเทศ England)   
นิทานของเขาจะเล่าถึงการผจญภัยของ Christopher Robin กับ Winnie รวมทั้งสัตว์ที่เป็นเพื่อนของเขาในป่า โดยที่ลักษณะนิสัย ของตัวละครสัตว์ตัวอื่นๆ เช่น Eeyore, Piglet, Tigger, Kanga และ Roo มาจากเหล่าตุ๊กตาสัตว์ขChristoper Robin ลูกชายของเขา ส่วนลักษณะนิสัยของตัวละครสัตว์ Rabbit และ Owl มาจากสัตว์ที่อาศัยในบริเวณฟาร์ม และภาพประกอบของนิทานทั้งหมด เขียนโดย E. H. Shepard.
                                                                         ประวัติหมีพู

ประวัติดาราที่ชอบ

 

ประวัติส่วนตัว ณเดช คูกิมิยะ

ชื่อ – สกุล : ณเดช คูกิมิยะ (แบรี่)
วันเกิด : 17 ธันวาคม
ส่วนสูง : 181  เซนติเมตร
น้ำหนัก : 68  กิโลกรัม
งานอดิเรก : เล่นเกม เล่นฟิตเนส
สิ่งที่ชื่นชอบ : ร้องเพลง เล่นกีต้าร์
กีฬา : ฟิตเนส
ศิลปินที่ชอบ : เบิร์ด ธงชัย , นก ฉัตรชัย
ของสะสม : กระเป๋าสะพาย
สีที่ชอบ: ขาว
ผลงานละคร : เงารักลวงใจ, สี่หัวใจแห่งขุนเขา

วงการบันเทิง ณเดช คูกิมิยะ

เมื่อปี พ.ศ. 2552 ขณะที่ ศุภชัย ศรีวิจิตร ผู้จัดการนักแสดง เดินทางมาเยี่ยมบ้าน เวียร์-ศุกลวัฒน์ คณารศ นักแสดงในสังกัด และพบกับณเดชน์ ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกับเวียร์ ศุภชัยจึงทาบทามณเดชน์ให้เข้าสู่วงการบันเทิง โดยเริ่มเดินแบบของศูนย์ศิลปาชีพฯ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นงานแรก หลังจากนั้นก็มีงานถ่ายแบบ เดินแบบอีกหลายครั้ง และเป็นที่รู้จักผ่านการแสดงเป็นตัวเอก ในภาพยนตร์โฆษณาหมากฝรั่งไทรเดนท์ คู่กับอั้ม-พัชราภา ไชยเชื้อ ต่อมาก็ยังมีผลงานภาพยนตร์โฆษณาอีกหลายชิ้น แล้วจึงได้รับโอกาสเข้าสู่วงการนักแสดง โดยรับบทเป็น “นาวา” ในละครเรื่องแรก เงารักลวงใจ ซึ่งออกฉายในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 และอวสานในวันที่ 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน